วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทบาทพระมหากษัตริย์ ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อการพัฒนาชาติไทย

บทบาทพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อการพัฒนาชาติไทย

-ด้านการเมือง

-ด้านเศรษฐกิจ

-ด้านสังคมและวัฒนธรรม

-ด้านการต่างประเทศ

ด้านการเมือง

สถาบันพระมหากษัตริย์ได้มีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองการปกครองการรวมชาติ การสร้างเอกราช การวางรากฐานการเมืองการปกครอง การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตั้งแต่อดีตสืบต่อมาตลอดปัจจุบันบทบาทของพระมหากษัตริย์มีส่วนช่วยสร้างเอกภาพของประเทศเป็นอย่างมาก คนไทยทุกกลุ่มไม่ว่าศาสนาใดมีขนบธรรมเนียมแตกต่างกันอย่างไรก็มีความรู้สึกร่วมในการมีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน การเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ แม้ท้องถิ่นทุรกันดาร หรือมากด้วยภยันตรายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ราษฎรมีขวัญและกำลังใจดี มีความรู้สึกผูกพันกับชาติว่ามิได้ถูกทอดทิ้ง พระราชกรณียกิจดังกล่าวของพระองค์มีส่วนช่วยในการปกครองเป็นอย่างมากพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์นั้นมีมาก และล้วนก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมทั้งสิ้น แม้การปฏิบัติพระราชกรณียกิจจะเป็นพระราชภาระอันหนัก แต่ก็ได้ทรงกระทำอย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ จนกระทั่งสามารถที่จะผูกจิตใจของประชาชนให้เกิดความจงรักภักดี เพาะตระหนักถึงน้ำพระทัยของพระองค์ว่า ทรงเห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าพระองค์เอง ทรงเสียสละยอมทุกข์ยากเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริงดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม

-ด้านเศรษฐกิจ

การพัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญๆ ของชาติส่วนใหญ่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปูพื้นฐานประชาธิปไตย โดยการจัดตั้งกระทรวงต่างๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่างๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนาธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยจะเห็นว่าโครงการตามพระราชดำริส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาหลักทางเกษตรกรรมเพื่อชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสอันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น โครงการฝนหลวง ชลประทาน พัฒนาที่ดิน พัฒนาชาวเขา เป็นต้น



-ด้านสังคมและวัฒนธรรม

พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขและความเจริญแก่สังคม ได้ทรงริเริ่มโครงการต่างๆ ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พระราชดำริและโครงการที่ทรงริเริ่มมีมากซึ่งล้วนแต่เป็นรากฐานในการพัฒนาชาติทั้งสิ้น โครงการของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ โครงการอีสานเขียว โครงการฝนหลวง โครงการปลูกป่า โครงการขุดคลองระบายน้ำ โครงการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดในเมืองใหญ่ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ทรงทำเป็นแบบอย่างที่ดีประชาชนและหน่วยราชการนำไปปฏิบัติก่อให้เกิดประโยชน์ในทางการพัฒนาชาติขึ้นมาก นอกจากนี้ทรงทำให้เกิดความคิดในการดำรงชีวิตแบบใหม่ เช่น การประกอบอาชีพ การใช้วิทยาการมาช่วยทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

ด้านการต่างประเทศ

พระมหากษัตริย์ในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นในรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันก็ทรงดำเนินการให้เกิดความเข้าใจอันดี ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่างๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นทูตสันถวไมตรีกับประเทศต่างๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้นโยบายต่างประเทศดำเนินไปอย่างสะดวกและราบรื่น นอกจากนั้นยังทรงเป็นผู้แทนประเทศไทยต้อนรับประมุขประเทศ ผู้นำประเทศ เอกอัครราชทูต และทูตสันถวไมตรีจากต่างประเทศอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475-ปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 – ปัจจุบัน

ภายหลังการปฏิรูปการปกครองและการปฏิรูปการศึกษาในรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้มีกระแสความคิดที่จะให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยมีรัฐสภาเป็นสถาบันหลักที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งได้มีคณะนายทหารชุดกบฏ ร.ศ.130 ซึ่งมีความคิดที่ปฏิบัติการให้บรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว แต่ไม่ทันลงมือกระทำการก็ถูกจับได้เสียก่อนเมื่อ พ.ศ.2454 ในต้นรัชกาลที่ 6

อย่างไรก็ตาม เสียงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังคงมีออกมาเป็นระยะๆ ทางหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ยังไม่ผลต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนัก นอกจากการปรับตัวของรัฐบาลทางด้านการเมืองการปกครองให้ทันสมัยยิ่งขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น แต่ก็ยังไม่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแต่ประการใด จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีคณะผู้ก่อการภายใต้การนำของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งได้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จใน พ.ศ. 2475

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย

สภาพการณ์โดยทั่วไปของบ้านเมืองก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

1.สภาพการณ์ทางสังคม

สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตกในทุกๆ ด้าน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิรูปแผ่นดินเข้าสู่ความทันสมัยในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) ความจริงแล้วสังคมไทยเริ่มปรับตัวให้เข้ากับกระแสวัฒนธรรมตะวันตกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 และกับประเทศอื่นๆในภาคพื้นยุโรปอีกหลายประเทศ และทรงเปิดรับรับประเพณีและวัฒนธรรมของตะวันตก เช่น การจ้างชาวตะวันตกให้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษแก่พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบรมมหาราชวัง การให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า การอนุญาตให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพร้อมกับขุนนางข้าราชการไทยในงานพระบรมราชาภิเษก เป็นต้น

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงดำเนินพระบรมราโชบายปลดปล่อยไพร่ให้เป็นอิสระและทรงประกาศเลิกทาสให้เป็นไทแก่ตนเอง พร้อมกันนั้นยังทรงปฏิรูปการศึกษาตามแบบตะวันตก เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาถึงขั้นอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็น ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย บุตรหลานขุนนาง หรือราษฎรสามัญชนที่พ้นจากความเป็นไพร่หรือทาส ถ้าบุคคลใดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดก็จะมีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศตะวันตกโดยพระบรมราชานุเคราะห์จากผลการปฏิรูปการศึกษา ทำให้คนไทยบางกลุ่มที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก เริ่มรับ เริ่มรับเอากระแสความคิดเกี่ยวกับการเมืองสมัยใหม่ ที่ยึดถือรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากตะวันตก และมีความปรารถนาที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกคราองเกิดขึ้นในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากคำกราบบังคมทูลถวายถึงความคิดเห็นในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะเจ้านายและข้าราชการใน พ.ศ.2427 (ร.ศ.103) หรือการเรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาของ “เทียนวรรณ” (ต.ว.ส. วัณณาโภ) ในหน้าหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้น และกระแสความคิดนี้ก็ดำเนินสืบเนื่องมาโดยตลอดในหมู่ผู้นำสมัยใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก และจากผู้ที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก

อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้นำสมัยใหม่บางส่วนที่ได้รับผลประโยชน์จากระบบราชการสมัยใหม่ที่ตนเองเข้าไปมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ ก็ถูกระบบราชการดูดกลืนจนปฏิเสธที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสมัยใหม่ในระยะเวลาอันใกล้ เพราะมีความเห็นว่าประชาชนชาวไทยยังขาดความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลง

สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปประเทศเข้าสู่ความทันสมัย สังคมไทยก็เริ่มก้าวเข้าสู่ความมีเสรีในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยเริ่มเปิดโอกาสสื่อมวลชนเสนอความคิดเห็นต่อสาธารณชนได้ค่อนข้างเสรี ดังนั้นจึงปรากฏว่าสื่อมวลชนต่างๆ เช่น น.ส.พ.สยามประเภท, ตุลวิภาคพจนกิจ, ศิริพจนภาค, จีนโนสยามวารศัพท์ ซึ่งตีพิมพ์จำหน่ายในรัชกาลที่ 5 น.ส.พ. บางกอกการเมือง ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในสมัยรัชกาลที่ 6 และ น.ส.พ.สยามรีวิว ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เรียกร้องและชี้นำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปสู่ระบบรัฐสภา โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการปลดปล่อยไพร่และทาสให้เป็นอิสระในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ผ่านพ้นไปได้เพียง 20 ปีเศษ ดังนั้นสภาพสังคมส่วนใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมในระบบเจ้าขุนมูลนาย นอกจากนี้คนส่วนน้อยยังคงมีฐานะ สิทธิ ผลประโยชน์ต่างๆ เหนือคนไทยส่วนใหญ่ คนส่วนใหญ่มักมีความเห็นคล้อยตามความคิดที่ส่วนน้อยซึ่งเป็นชนชั้นนำของสังคมไทยชี้นำ ถ้าจะมีความขัดแย้งในสังคมก็มักจะเป็นความขัดแย้งในทางความคิด และความขัดแย้งในเชิงผลประโยชน์ในหมู่ชนชั้นนำของสังคมที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก มากกว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้นำของสังคมไทยกับราษฎรทั่วไป

2.สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เริ่มมีการส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศมากขึ้น เพราะระบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปและความต้องการของตลาดโลก ชาวนาจึงหันมาปลูกข้าวเพื่อส่งออกมาขึ้น ทำให้มีการปลูกพืชอื่นๆ น้อยลง ผลผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ลดลงด้วยบางที่ก็เลิกผลิตไปเลย เพราะแรงงานส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในการผลิตข้าวแทน

สมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงเห็นว่าถึงแม้รายได้ของแผ่นดินจะเพิ่มพูนมากขึ้นอันเป็นผลมาจากระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไป แต่การที่ระบบการคลังของแผ่นดินยังไม่รัดกุมพอ ทำให้เกิดการรั่วไหลได้ง่าย จังทรงจัดการปฏิรูปการคลังโดยจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น เพื่อการปรับปรุงและการจัดระบบภาษีให้ทันสมัยใน พ.ศ.2416 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ.2434 เริ่มโครงการปฏิรูปเงินตราใหม่ พ.ศ.2442 จัดการส่งเสริมการเกษตรและการผลิตเพื่อการส่งออกให้มากขึ้น ปรับปรุงการคมนาคมให้ทันสมัยโดยการสร้างทางรถไฟ ตัดถนนสายต่างๆ ขุดคลอง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการคมนาคม การขนส่งสินค้าและผลผลิต ซึ่งผลการปฏิรูปเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้รายได้ของประเทศเพิ่มมากขึ้น 15 ล้านบาทใน พ.ศ.2435 เป็น 46 ล้านบาทใน พ.ศ.2447 โดยไม่ได้เพิ่มอัตราภาษีและชนิดของภาษีขึ้นอย่างใด ทำให้เงินกองคลังของประเทศ ซึ่งเคยมีอยู่ประมาณ 7,500,000 บาท ใน พ.ศ.2437 เพิ่มเป็น 32,000,000 บาทใน พ.ศ.2444

สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453-2468) ได้มีการส่งเสริมธุรกิจด้านอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กิจการไฟฟ้า มีการจัดตั้งบริษัทพาณิชย์นาวีสยาม ส่งเสริมด้านชลประทานและการบำรุงพันธุ์ข้าว จัดตั้งธนาคารออมสิน สร้างทางรถไฟเพิ่มเติมจากเดิม ทั้งนี้เพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น แต่เนื่องจากได้อุทกภัยใน พ.ศ.2460 และเกิดฝนแล้งใน พ.ศ. 2462 ทำให้การผลิตข้าวอันเป็นที่มาของรายได้หลักของประเทศประสบความเสียหายอย่างหนัก ส่งผลกระทบต่อภาวะการคลังของประเทศอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ทำให้งบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับมาโดยตลอดระหว่าง พ.ศ.2465-2468

สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468-2475) พระองค์ได้ทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างเต็มพระสติกำลังความส ามารถ โดยทรงเสียสละด้วยการตัดทอนรายจ่ายในราชสำนัก เพื่อเป็นตัวอย่างแก่หน่วยราชการต่างๆ โดยโปรดให้ลดเงินงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ จากเดิมปีละ 9 ล้านบาท เหลือปีละ 6 ล้านปี พ.ศ.2469 และมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีศุลกากรใหม่หลายอย่าง ทำให้งบประมาณรายรับรายจ่ายเกิดความสมดุล พ.ศ.2472-2474 เศรษฐกิจโลกเริ่มตกต่ำอันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงส่งผลกระทบต่อประเทศโดยตรง ทำให้งบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับเป็นจำนวนมาก รัชกาลที่ 7 ได้ทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนมากเพื่อการประหยัด ตลอดจนจัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารแก่ข้าราชการ ประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองคำ และกำหนดค่าเงินตราตามเงินปอนด์สเตอร์ลิง รวมทั้งการประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะข้าราชการซึ่งจะต้องเสียภาษีที่เรียกว่า ภาษเงินเดือน แต่ถึงแม้ว่าจะทรงดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการประหยัดและตัดทอนรายจ่ายต่างๆ รวมทั้งการเพิ่มภาษีบางอย่างแล้ว แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ไดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

3.สภาพการณ์ทางการเมือง

สภาพการณ์ทางการเมืองและการปกครองของไทยกำลังอยู่ในระยะปรับตัวเข้าสู่แบบแผนการปกครองของตะวันตก เห็นได้จากพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ภายหลังที่ไทยได้มีการติดต่อกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-7สมัยรัชกาลที่ 4 ยังไม่ได้ทรงดำเนินนโยบายปรับปรุงการปกครองให้เป็นแบบตะวันตก แต่ก็ทรงมีแนวพระราชดำริโน้มเอียงไปในทางเสรีนิยม เช่น ประกาศให้เจ้านายและข้าราชการเลือกตั้งตำแหน่งมหาราชครูปุโรหิตและตำแหน่งพระมหาราชครูมหิธร อันเป็นตำแหน่งตุลาการที่ว่างลง แทนที่จะทรงแต่งตั้งผู้พิพากษาตามพระราชอำนาจของพระองค์ และเปลี่ยนแปลงวิธีถวายน้ำพิพัฒน์สัตยา ด้วยการที่พระองค์ทรงเสวยน้ำพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางข้าราชการและทรงปฏิญาณความซื่อสัตย์ของพระองค์ต่อขุนนางข้าราชการทั้งปวงด้วย

สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการเมืองการปกครองครั้งใหญ่ เพื่อให้การปกครองของไทยได้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับชาติตะวันตก โดยจัดตั้ง สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ (Privy Council) ใน พ.ศ.2417 เพื่อถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินและในเรื่องต่างๆ ที่พระองค์ของคำปรึกษาไป นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปฏิรูปการปกครองที่สำคัญคือ การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่จำนวน 12 กระทรวงขึ้นแทนจตุสดมภ์ในส่วนกลางและจัดระบบการปกครองหัวเมืองต่างๆในรูปมณฑลเทศาภิบาลในภูมิภาค โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2435 เป็นต้นมา นอกจากนี้พระองค์ทรงริเริ่มทดลองการจัดการปกครองท้องถิ่นในรูป สุขาภิบาล จัดตั้ง รัฐมนตรีสภา เพื่อทำหน้าที่ตามกฎหมาย ใน พ.ศ.2437 ตามแบบอย่างตะวันตก

สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงริเริ่มทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยการจัดตั้ง ดุสิตธานี เมืองประชาธิปไตยขึ้นในบริเวณพระราชวังดุสิต พ.ศ.2461 เพื่อทดลองฝึกฝนให้บรรดาข้าราชการได้ทดลองปกครองตนเองในนครดุสิตธานี เหมือนกับการจดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่เรียกว่า “เทศบาล” นอกจากนี้ยังทรงจัดตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่จากที่มีอยู่เดิม และยุบเลิกกระทรวงบางกระทรวงเพื่อให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยทรงจัดตั้งมณฑลเพิ่มขึ้นและทรงปรับปรุงการบริหารงานของมณฑลด้วยการยุบรวมมณฑลเป็นหน่วยราชการที่เกี่ยวกับการปกครองเรียกว่า มณฑลภาค เพื่อให้การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลมีความคล่องตัวมากขึ้น

สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2468-2475) ทรงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ทันสมัย และต้องเตรียมการให้พร้อมเพิ่มมิให้เกิดความผิพลาดได้ โดยพระองค์ได้ทรงจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน พ.ศ.2468 และทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีสภาวางระเบียบสำหรับจัดตั้งสภากรรมการองคนตรี เพื่อเป็นสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์อีกด้วย

นอกจากนี้ทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีวางรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาล ด้วยการแก้ไขปรับปรุงสุขาภิบาลที่มีอยู่ให้เป็นเทศบาล แต่ไม่มีโอกาสได้ประกาศใช้ เพราะได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นก่อน นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญ ตามกระแสพระราชดำริใน พ.ศ.2474 มีสาระสำคัญดังนี้

อำนาจนิติบัญญัติจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทางอ้อม โดยมีสมาชิก 2 ประเภท คือ มาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง ส่วนผู้ที่มีสิทธิ์สมัครเลือกตั้งจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า30 ปี มีพื้นฐานความรู้อ่านออกเขียนได้ ส่วนอำนาจบริหารให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือกนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากอภิรัฐมนตรีมีความเห็นประชาชนยังไม่พร้อม ดังนั้นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญควรระงับไว้ชั่วคราว จนกระทั่งได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อนจึงมิได้มีการประกาศใช้แต่อย่างใด

สาเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475

1.ความเสื่อมของระบอบสมบูรณาญาสิราชย์

การที่คณะนายทหารหนุ่มภายใต้การนำของ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์(เหล็ง ศรีจันทร์) ได้วางแผนยึดอำนาจการปกครอง เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบที่จำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในฐานะประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ.2454 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะถูกจับกุมก่อนลงมือปฏิบัติงาน แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของระบอบนี้อย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ไม่ดุลกับรายรับ ทำให้มีการกล่าวโจมตีรัฐบาลว่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินไป ครั้งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ก็ถูกโจมตีว่าทรงตกอยู่ใต้อิทธิพลของอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง และบรรดาพระราชวงศ์ก็มีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองมากเกินไป ควรจะให้บุคคลอื่นที่มีความสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองด้วย ปรากฎการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจต่อระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งนับวันจะมีปฏิกิริยาต่อต้านมากขึ้น

2.การได้รับการศึกษาตามแนวความคิดตะวันตกของบรรดาชนชั้นนำในสังไทย

อิทธิพลจากการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้คนไทยส่วนหนึ่งที่ไปศึกษายังประเทศตะวันตก ได้รับอิทธิพลแนวคิดทางการเมืองสมัยใหม่ และนำกลับมาเผยแพร่ในประเทศไทย ทำให้คนไทยบางส่วนที่ไม่ได้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศรับอิทธิพลแนวความคิดดังกล่าวด้วย อิทธิพลของปฏิรูปการศึกษาได้ส่งผลกระตุ้นให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนแลปงการปกครองมากขึ้น นับตั้งแต่คณะเจ้านายและข้าราชการเสนอคำกราบบังคมทูลให้เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2427 นักหนังสือพิมพ์อย่าง เทียนวรรณ (ต.ว.ส.วัณณาโภ) ก.ศ.ร. กุหลาบ (ตรุษ ตฤษณานนท์) ได้เรียกร้องให้ปกครองบ้านเมืองในระบบรัฐสภา เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และยังได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์สังคม กระทบกระเทียบชนชั้นสูงที่ทำตัวฟุ้งเฟ้อ ซึ่งตัวเทียนวรรณเองก็ได้กราบบังคมทูลถวายโครงร่างระบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยแด่รัชกาลที่ 5 ต่อมาในรัชกาลที่ 6 กลุ่มกบฏ ร.ศ.130 ที่วางแผนยึดอำนาจการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็เป็นบุคคลที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกแต่ไม่เคยไปศึกษาในต่างประเทศ แต่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 เป็นคณะบุคคลที่ส่วนใหญ่ผ่านการศึกษามาจากประเทศตะวันตกแทบทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงอัทธิพลของความคิดในโลกตะวันตกที่มีต่อชนชั้นผู้นำของไทยเป็นอย่างยิ่ง เมื่องคนเลห่านี้เห็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การเปลี่ยนแปลงกรปกครองจึงเกิดขึ้น

3.ความเคลื่อนไหวของบรรดาสื่อมวลชน

สื่อมวลชนมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการปกครองแบบใหม่และปฏิเธระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น น.ส.พ.ตุลวิภาคพจนกิจ (พ.ศ.2443-2449) น.ส.พ.ศิริพจนภาค (พ.ศ.2451) น.ส.พ.จีนโนสยามวารศัพท์ (พ.ศ.2446-2450) น.ส.พ.บางกอกการเมือง (พ.ศ.2464) น.ส.พ.สยามรีวิว (พ.ศ.2430) น.ส.พ.ไทยใหม่ (พ.ศ.2474) ต่างก็เรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาที่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ โดยชี้ให้เห็นถึงความดีงามของระบอบประชาธิปไตยที่จะเป็นแรงผลักดันให้ประชาชาติมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าที่เป็นอยู่ ดังเช่นที่ปรากฎเป็นตัวอย่างในหลายๆประเทศที่มีการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ การะแสเรียกร้องของสื่อมวลชนในสมัยนั้นได้มีส่วนต่อการสนับสนุนให้การดำเนินของคณะผู้ก่อการในอันที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองบรรลุผลสำเร็จได้เหมือนกัน

4.ความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

รัชกาลที่ 7 ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศและทรงเต็มพระทัยที่จะสละพระราชอำนาจมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม แต่เมื่อพระองค์ทรงมีกระแสรับสั่งให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี.สตีเวนส์ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อประกาศใช้ พระองค์ได้ทรงนำเรื่องนี้ไปปรึกษาอภิรัฐมนตรีสภา แต่อภิรัฐมนตรีสภากลับไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่าประชาชนยังขาดความพร้อมและเกรงจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ทั้งๆที่รัชกาลที่ 7 ทรงเห็นด้วยกับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่ออภิรัฐมนตรีสภาคัด ค้าน พระองค์จึงมีน้ำพระทัยเป็นประชาธิปไตยโดยทรงฟังเสียงทัดทานจากอภิรัฐมนตรีสภาส่วนใหญ่ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงยังไม่มีโอกาสได้รับการประกาศใช้ เป็นผลให้คณะผู้ก่อการชิงลงมือทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ในที่สุด

5.สถานะการคลังของประเทศและการแก้ปัญหา

การคลังของประเทศเริ่มประสบปัญหามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เพราะการผลิตข้าวประสบความล้มเหลว เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วมและฝนแล้งติดต่อกันใน พ.ศ. 2460 และ พ.ศ.2462 ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการผลิตข้าวอย่างรุนแรง ภายในประเทศก็ขาดแคลนข้าวที่จะใช้ในการบริโภค และไม่สามารถส่งข้าวไปขายยังต่างประเทศได้ ทำให้รัฐขาดรายได้เป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงต้องจัดสรรเงินงบประมาณช่วยเหลือชาวนา ข้าราชการ และผู้ประสบกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น มีทั้งรายจ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้นจนเกินงบประมาณรายได้ ซึ่งใน พ.ศ. 2466 งบประมาณขาดดุลถึง 18 ล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลได้นำเอาเงินคงคลังที่เก็บสะสมไว้ออกมาใข้จ่ายจนหมดสิ้น ในขณะที่งบประมาณรายได้ต่ำ รัชกาลที่ 6 ทรงแก้ปัญหาด้วยการกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อให้มีเงินเพียงพอกับงบประมาณรายจ่าย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างไม่ประหยัด ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังคับขัน

ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายของรัฐบาลลดจำนวนข้าราชการในกระทรวงต่างๆให้น้อยลง และทรงยินยอมตัดทอนงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ให้น้อยลง เมื่อ พ.ศ.2469 ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 3 ล้านบาท แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของโลกเริ่มตกต่ำมาเป็นลำดับตั้งแต่ พ.ศ. 2472 ทำให้มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง รัฐบาลต้องตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นอันมาก จัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารของข้าราชการ รวมทั้งการประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองคำ

พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้ประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะการเก็บภาษีเงินเดือนจากข้าราชการ แต่มาตรการดังกล่าวมก็ไม่สามารถจะกอบกู้สถานะการคลังของประเทศได้กระเตื้องขึ้นได้ จากปัญหาเศรษฐกิจการคลังที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขให้มีสภาพเป็นปกติได้ ทำให้คณะผู้ก่อการใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐบาล จนเป็นเงื่อนไขให้คณะผู้ก่อการดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จ

การยึดอำนาจการปกครอง

1.วิธีการดำเนินงาน

กลุ่มบุคคลซึ่งเป็นผู้ริเริ่มความคิดที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งแรกหรือที่เรียกว่า “คณะผู้ก่อการ นั้นมี 7 คน ที่สำคัญคือ นายปรีดี พนมยงค์ ร.ท.แปลก ขีตตะวังคะ ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี เป็นต้น

คณะบุคคลทั้ง 7 คนได้เริ่มเปิดประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2469 ที่พักแห่งหนึ่งในถนน รู เดอ ซอมเมอรารด์ ณ กรุงปารีส การประชุมครั้งนั้นดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน โดยที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นประธานที่ประชุม และที่ประชุมตกลงดำเนินการจัดตั้งคณะผู้ก่อการขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์รวมในการดำเนินงานต่อไป โดยที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ จนกว่าจะมีบุคคลที่เหมาะสมเป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการต่อไป ที่ประชุมได้ตกลงในหลักการที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้กฎหมายหรือที่เรียกกันว่า ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหานอกจากนี้

คณะผู้ก่อการได้กำหนดหลักการในการปกครองประเทศไว้ 6 ประการ

1) รักษาความเป็นเอกราชของชาติในทุกๆด้าน เช่น เอกราชทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางการศาล ฯลฯ ให้มีความมั่นคง

2) รักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้มีการประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลง

3) บำรุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทำทุกคน โดยจะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติและไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

4) ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคทัดเทียมกัน

5) ให้ราษฎรมีเสรีภาพที่ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการข้างต้น

6) ให้การศึกษาแก่ราษฎรทุกคนอย่างเต็มที่ ภายหลังจากเสร็จการประชุมในครั้งนั้นแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมายแล้ว ได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย ทางสมาชิกที่อยุ่ในกรุงปารีสจึงได้เลือกเฟ้นผู้ที่สมควรเข้าร่วมเป็นสมาชิกต่อไป และได้สมาชิกเพิ่มในคณะผู้ก่อการอีก 8 คน ที่สำคัญ คือ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน เป็นต้น

ภายหลังเมื่อบรรดาสมาชิกของคณะผู้ก่อการที่กรุงปารีสกลับคืนสู่ประเทศไทยแล้ว ก็ได้มีการชักชวนบุคคลที่มีความเห็นร่วมกันเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะผู้ก่อการอีกเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งปลายปี พ.ศ.2474 จึงได้ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ ดังนั้นสมาชิกคณะผู้ก่อการฝ่ายทหารที่สำคัญ ได้แก่ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม น.ต.หลวงสินธุ์สงครามชัย ฯลฯ สำหรับสมาชิกคณะผู้ก่อการหัวหน้าฝ่ายพลเรือนที่สำคัญคือ นายปรีดี พนมยงค์ นายทวี บุญยเกตุ นายควง อภัยวงค์ เป็นต้น

คณะผู้ก่อการได้วางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองดำเนินไปอย่างละมุนละม่อมและหลีกเลี่ยงการเสียเลือดเนื้อให้มากที่สุด โดยมีแผนจับกุมผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเอาไว้ก่อน ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน นอกจากนี้ยังมีแผนการจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์องค์อื่นๆ รวมทั้งเสนาบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ และผู้บังคับบัญชาทหารที่สำคัญๆ อีกหลายคนด้วยกัน เพื่อเป็นข้อต่อรองให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทยกษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
2.ขั้นตอนการยึดอำนาจ

คณะผู้ก่อการได้เริ่มลงมือปฏิบัติงานในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการนำคณะนายทหารพร้อมด้วยกำลังหน่วยทหารที่เตรียมการเอาไว้ เข้ายึดพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นฐานบัญชาการ และได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดวังบางขุนพรหม พร้อมทั้งได้ทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเสด็จมาประทับยังพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นผลสำเร็จ จากการที่คณะผู้ก่อการได้พยายามดำเนินการอย่างละมุนละม่อมดังกล่าว ทำให้สถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีซึ่งมีผลต่อชาติบ้านเมืองโดยส่วนรวม

สำหรับทางฝ่ายพลเรือนนั้น สมาชิกคณะผู้ก่อการกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (นายควง อภัยวงศ์) ได้ออกตระเวนตัดสายโทรศัพท์และโทรเลขทั้งในพระนครและธนบุรี เพื่อป้องกันมิให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตและผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารในกรุงเทพฯ ขณะนั้น โทรศัพท์และโทรเลขติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ ได้จัดทำใบปลิว คำแถลงการณ์ของคณะผู้ก่อการออกแจกจ่ายประชาชน

คณะผู้ก่อการสามารถยึดอำนาจและจับกุมบุคคลสำคัญฝ่ายรัฐบาลไว้ได้โดยเรียบร้อย และได้ร่วมกันจัดตั้ง คณะราษฎร ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ รวมทั้งออกประกาศแถลงการณ์ของคณะราษฎร เพื่อชี้แจงที่ต้องเข้ายึดอำนาจการปกครองให้ประชาชนเข้าใจ นอกจากนี้คณะราษฎรได้แต่งตั้งผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารขึ้น 3 นาย ได้แก่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์ โดยให้ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน ขณะที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการบริหารประเทศ

หลังจากนั้น คณะราษฎรได้มีหนังสือกราบบังคับทูลอันเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับคืนสู่พระนคร เพื่อดำรงฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรต่อไป ด้วยความที่พระองค์ทรงมีน้ำพระทัยที่เป็นประชาธิปไตย และทรงพร้อมที่จะเสียสละเพื่อประชาชนและประเทศชาติ พระองค์ทรงตอบรับคำกราบบังคับทูลอัญเชิญของคณะราษฎร โดยพระองค์ทรงยินยอมที่จะสละพระราชอำนาจของพระองค์ด้วยการพระราชทานรัฐธรรมนูญตามที่คณะราษฎรได้มีเป้าหมายเอาไว้ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับคืนสู่พระนครเพื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทย

การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม

การที่คณะราษฎรภายใต้การนำของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นผลสำเร็จ โดยมิต้องสูญเสียเลือดเนื้อแต่ประการใดนั้น เป็นเพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่รงยอมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยมิได้ทรงต่อต้านเพื่อคิดตอบโต้คณะราษฎรด้วยการใช้กำลังทหารที่มีอยู่แต่ประการใด และทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยตามที่คณะราษฎรได้เตรียมร่างเอาไว้ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงลงพระปรมาภิไธย นอกจากนี้พระองค์ก็ทรงมีพระราชประสงค์มาแต่เดิมแล้วว่าจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแก่ประชาชนอยู่แล้ว จึงเป็นการสอดคล้องกับแผนการของคณะราษฎร ประกอบกับพระองค์ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและความสุขของประชาชนเป็นสำคัญ ยิ่งกว่าการดำรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจของพระองค์

รัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยมี 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475

1.พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475
ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่เจ้า เสด็จพระราชดำเนินจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน กลับคืนสู่พระนครแล้ว คณะราษฎรได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ และคณะราษฎรบางคนได้ร่างเตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงพระปรมาภิไธย พระองค์ได้พระราชทานกลับคืนมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้มีพิธีเปิดสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 ซึ่งรัฐธรรมนูญนี้มีชื่อเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว”
รัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้กำหนดว่า อำนาจสูงสุดในแผ่นดินประกอบด้วย อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งแต่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์ จึงได้เปลี่ยนเป็นของปวงชนชาวไทยตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยเกี่ยวกับการได้มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ได้กำหนดแบ่งระยะเวลาออกเป็น 3 สมัยคือ

1) สมัยที่ 1 นับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิกในสมัยที่ 2 จะเข้ารับตำแหน่ง ให้คณะราษฎรซึ่งมีผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทน และจัดตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้นเป็นจำนวน 70 นาย เป็นสมาชิกในสภา

2) สมัยที่ 2 ภายในเวลา 6 เดือน หรือจนกว่าจะจัดประเทศเป็นปกติเรียบร้อย สมาชิกในสภาจะต้องมีบุคคล 2 ประเภท ทำกิจกรรมร่วมกัน คือ ประเภทที่หนึ่ง ได้แก่ผู้แทนราษฎรซึ่งราษฎรได้เลือกขึ้นมาจังหวัดละ 1 นาย ต่อราษฎรจำนวน 100,000 คน ประเภทที่สอง ผู้เป็นสมาชิกอยู่ในสมัยที่หนึ่งมีจำนวนเท่ากับสมาชิกประเภทที่หนึ่ง ถ้าจำนวนเกินให้เลือกกันเองว่าผู้ใดจะยังเป็นสมาชิกต่อไป ถ้าจำนวนขาดให้ผู้ที่มีตัวอยู่เลือกบุคคลใดๆเขาแทนจนครบ

3) สมัยที่ 3 เมื่อจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรได้สอบไล่วิชาประถมศึกษาได้เป็นจำนวน กว่าครึ่ง และอย่างช้าต้องไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้ สมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ที่ราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้น ส่วนสมาชิกประเภทที่สองเป็นอันสิ้นสุดลง ผู้แทนราษฎรชั่วคราวจำนวน 70 นาย ซึ่งผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารจะเป็นผู้จัดตั้งขึ้นในระยะแรกนั้น ประกอบด้วยสมาชิกคณะราษฎร ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้ประกอบอาชีพสาขาต่างๆ ซึ่งมีความปรารถนาจะช่วยบ้านเมือง และกลุ่มกบฏ ร.ศ.130 บางคน ซึ่งสมาชิกทั้ง 70 คน ภายหลังจากการได้รับการแต่งตั้งแล้ว 6 เดือน ก็จะมีฐานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว

ทางด้านอำนาจบริหารนั้นในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ซึ่งตำแหน่งบริหารที่สำคัญเอาไว้คือ ประธานคณะกรรมการราษฎร (เทียบเท่านายกรัฐมนตรี) ซึ่งจะต้องเป็นบุคคลที่สามารถประสานความเข้าใจระหว่างคณะราษฎรกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างดี และเพื่อความราบรื่นในการบริหารประเทศต่อไป คณะราษฎรจึงตกลงเห็นชอบที่จะให้ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร

คณะกรรมการราษฎร (คณะรัฐมนตรี) ในรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรีชุดแรกที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 มีจำนวนทั้งสิ้น 15 นาย เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน

2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475
ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวแล้วสภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบไป ในที่สุดสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญครั้งสุดท้ายในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2475 และสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับรองให้ใช้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2475 โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 หลังจากนั้นได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม 2475 มีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
1.อำนาจนิติบัญญัติ กำหนดให้มีสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือกตั้ง แต่มีบทเฉพาะกาลกำหนดไว้ว่า ถ้าราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ยังมีการศึกษาไม่จบชั้นประถมศึกษามากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด และอย่างช้าต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475
สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท มีจำนวนเท่ากันคือ สมาชิกประเภทที่ 1 ได้แก่ผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งสขึ้นมาตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนสมาชิกประเภทที่ 2 ได้แก่ ผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร ในระหว่างที่ใช้บทบัญญัติเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
2.อำนาจบริหาร พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 นาย และรัฐมนตรีอีกอย่างน้อย 14 นาย อย่างมาก 24 นาย และในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ กล่าวโดยสรุปในภาพรวมของรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองการปกครองและสังคมไทยดังนี้คือ

2.1 อำนาจการปกครองของแผ่นดินซึ่งแต่เดิมเคยเป็นของพระมหากษัตริย์ก็ตกเป็นของปวงชนชาวไทยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ทาง คือ อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี อำนาจตุลาการผ่านทางผู้พิพากษา (ศาล)
2.2 ประชาชนจะได้รับสิทธิในทางการเมือง โดยการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปทำหน้าที่ควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล ออกกฎหมายและเป็นปากเสียงแทนราษฎร
2.3 ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในทางการเมืองมากขึ้น สามารถแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องต่างๆได้ ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย และคนทุกคนมีความเสมอภาคภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกัน
2.4 ในระยะแรกของการใช้รัฐธรรมนูญ 2อำนาจบริหารประเทศจะต้องตกอยู่ภายใต้การชี้นำของคณะราษฎร ซึ่งถือว่าเห็นตัวแทนของราษฎรทั้งมวลในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ความสงบเรียบร้อย ประชาชนจึงจะมีสิทธิในอำนาจอธิปไตยอย่างเต็ม
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแหลงการปกครอง พ.ศ. 24751.
ผลกระทบทางด้านการเมือง
การเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อสถานภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการสิ้นสุดพระราชอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทางยอมรับการเปลี่ยนแปลง และทรงยินยอมพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยแล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ทรงเป็นห่วงว่าประชาชนจะมิได้รับอำนาจการปกครองที่พระองค์ทรงพระราชทานให้โดยผ่านทางคณะราษฎรอย่างแท้จริง พระองค์จึงทรงใช้ความพยายามที่จะขอให้ราษฎรได้ดำเนินการปกครองประเทศด้วยหลักการแห่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่พระองค์ก็มิได้รับการสนองตอบจากรัฐบาลของคณะราษฎรแต่ประการใด จนกระทั่งภายหลังพระองค์ต้องทรงประกาศสละราชสมบัติใน พ.ศ.2477
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ทั้งนี้เป็นเพราะยังมีผู้เห็นว่าการที่คณะราษฎรยึดอำนาจการปกครองมาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีพระมหากษัตรยิ์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ยังมิได้เป็นไปตามคำแถลงที่ให้ไว้กับประชาชน

นอกจากนี้การที่คณะราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศตามหลักการข้อ 3 ในอุดมการณ์ 6 ประการของคณะราษฎรที่ได้ประกาศไว้เมื่อครั้งกระทำการยึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ปรากฏว่าหลายฝ่ายมองว่าเค้าโครงการเศรษฐกิจมีลักษณะโน้มเอียงไปในทางหลักเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ดังนั้น ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้นในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสิ้นสุดลงแล้วไม่นาน
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี เห็นว่าการบริหารประเทศท่ามกลางความขัดแย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจไม่สามารถจะดำเนินต่อไปได้ จึงประกาศปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา อันส่งผลให้ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา นำกำลังทหารยึดอำนาจรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดาในวันที่ 20 มิถุนายน 2476 และหลังจากนั้น พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินสืบไป
เมื่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เข้าบริหารประเทศได้ไม่นาน ก็มีบุคคลคณะหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่า คณะกู้บ้านกู้เมือง นำโดยพลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช ได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลในเดือนตุลาคม 2476 โดยอ้างว่ารัฐบาลได้ทำการหมิ่นประมาทองค์พระประมุขของชาติ และรับนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นร่างเค้าโครงเศรษฐกิจอันอื้อฉาวเข้าร่วมในคณะรัฐบาล พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาล ดำเนินการปกครองประเทศในระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ในที่สุดรัฐบาลก็สามารถปราบรัฐประหารของคณะกู้บ้านกู้เมืองได้สำเร็จ
หลังจากนั้นก็มีการจับกุมและกวาดล้างผู้ต้องสงสัยว่าจะร่วมมือกับคณะกู้บ้านกู้เมืองจนดูเหมือนว่าประเทศไทยมิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระยะนั้นอย่างแท้จริง ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นความขัดแย้งสืบต่อกันมาในยุคหลัง
ปัญหาการเมืองดังกล่าว ได้กลายเป็นเงื่อนไขที่ทำให้สถาบันทางการเมืองในยุคหลังๆ ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะการพัฒนาการทางการเมืองมิได้เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย และเป็นการสร้างธรรมเนียมการปกครองที่ไม่ถูกต้องให้กับนักการเมืองและนักการทหารในยุคหลังต่อๆมา ซึ่งทำให้ระบอบประชาธิปไตยต้องประสบกับความล้มเหลวเพราะการใช้กำลังบีบบังคับอยู่เป็นประจำถึงปัจจุบัน
2.ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของไทย แต่ถ้าพิจารณาถึงผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงแล้ว ผลกระทบทางการเมืองจะมีมากกว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เป็นเพราะความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่คณะราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นคนร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจเพื่อนำเสนอนั้น มิได้รับการยอมรับจากคณะราษฎรส่วนใหญ่ ดังนั้นระบบเศรษฐกิจภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังคงเป็นแบบทุนนิยมเช่นเดิม และโครงสร้างทางเศรษฐกิจยังคงเน้นที่การเกษตรกรรมมากว่าอุตสาหกรรม ซึ่งต่างจากประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ได้พัฒนาไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมแล้ว
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจก็พอจะมีอยู่บ้าง ถึงแม้จะไม่เด่นชัดเท่ากับผลกระทบทางการเมืองก็ตาม จากการที่คณะราษฎรผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองตกลงกันได้แต่เพียงว่าจะเลิกล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ไม่สามารถจะตกลงอะไรได้มากกว่านั้น กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจจึงต้องต่อสู้กันต่อไป เพื่อบีบบังคับให้ระบบเศรษฐกิจและการเมืองเป็นไปตามที่ตนต้องการ นอกจากนี้กลุ่มผลประโยชน์ที่ครอบครองที่ดินและทุนอันเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ก็รวมตัวกันต่อต้านกระแสความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดินและเงินทุนจากของบุคคลเป็นระบบสหกรณ์
3.ผลกระทบทางด้านสังคม
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สังคมไทยได้รับผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงพอสมควร คือ ประชาชนเริ่มได้รับเสรีภาพและมีสิทธิต่างๆ ตลอดจนความเสมอภาคภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง ในขณะที่บรรดาเจ้าขุนมูลนาย ขุนนาง ซึ่งมีอำนาจภายใต้ระบอบการปกครองดั้งเดิมได้สูญเสียอำนาจและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เคยมีมาก่อน โดยที่คณะราษฎรได้เข้าไปมีบทบาทแทนบรรดาเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าเหล่านั้น
เนื่องจากที่คณะราษฎรมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาของราษฎรอย่างเต็มที่ ตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎรข้อที่ 6 ดังนั้น รัฐบาลจึงได้โอนโรงเรียนประชาบาลที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นให้เทศบาลเหล่านั้นรับไปจัดการศึกษาเอง เท่าที่เทศบาลเหล่านั้นจะสามารถรับโอนไปจากกระทรวงธรรมการได้ ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ มีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงการศึกษาของบุตรหลานของตนเอง นอกจากนั้นรัฐบาลได้กระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นด้วยการจัดตั้งเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร มีสภาเทศบาลคอยควบคุมกิจการบริหารของเทศบาลเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ โดยมีเทศมนตรีเป็นผู้บริหารตามหน้าที่
พ.ศ.2479 รัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2479 โดยกำหนดแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเภท คือ สายสามัญศึกษาและสายอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นการเน้นความสำคัญของอาชีวศึกษาอย่างแท้จริง โดยได้กำหนดความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เรียนจบการศึกษาในสายสามัญแตะละประโยคแต่ละระดับการศึกษา ได้เรียนวิชาอาชีพเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากเรียนวิชาสามัญ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการที่จะออกไปประกอบอาชีพต่อไป

การเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้ชนชั้นเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าถูกลิดรอนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น พระมหากษัตริย์จะได้รับเงินจากงบประมาณเพียงปีละ 1-2 ล้านบาท จากเดิมเคยได้ประมาณปีละ 2-10 ล้านบาท เงินปีของพระบรมวงศานุวงศ์ถูกลดลงตามส่วน ขุนนางเดิมถูกปลดออกจากราชการโดยรับเพียงบำนาญ และเจ้านายบางพระองค์ถูกเรียกทรัพย์สินสมบัติคืนเป็นของแผ่นดิน
ยุคปัจจุบัน
ได้มีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน การปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ได้จัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น2. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ได้กำหนดให้รูปแบบการปกครองตำบลเป็นนิติบุคคล มีผู้แทนประชาชนจากหมู่บ้านต่าง ๆ ประกอบเป็นสภาตำบล ทำหน้าที่บริหารงานของตำบล ส่วนตำบลที่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดได้ยกฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรียกว่า องค์การบริหารส่วนตำบล มีฐานะเป็นนิติบุคคล จากผลของกฎหมายฉบับดังกล่าว ทำให้จังหวัดสุโขทัยมีองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 77 แห่ง โดยได้จัดตั้งดังนี้1. ปี พ.ศ. 2538 จำนวน 1 แห่ง2. ปี พ.ศ. 2539 จำนวน 45 แห่ง3. ปี พ.ศ. 2540 จำนวน 31 แห่ง4. ปี พ.ศ. 2541 มีสภาตำบลจำนวน 6 แห่ง3. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ได้ปรับปรุงรูปแบบการบริหาร โดยให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้ง

พัฒนาชาติไทย สมัยรัชการที่ 4,5,6,7 ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4, 5, 6, 7 ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
1. การจัดระเบียบการเมืองการปกครอง
- สมัยรัชกาลที่ 4ในสมัยนี้ระบบการการปกครองประเทศยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 คือแบ่งการปกครองเป็นเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

- สมัยรัชกาลที่ 5รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนม์อายุได้ 15 พรรษา มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในสมัยของพระองค์ได้มีการปรับปรุงระบบการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ดังต่อไปนี้

ก. การปฏิรูปการปกครอง1. ส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและจตุสดมภ์ และให้แบ่งหน่วยการปกครองออกเป็น 12 กรม (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวง) ดังนี้ กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมการต่างประเทศ กรมนครบาล กรมวัง กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมเกษตรและพาณิยการ (เกษตราธิการ) กรมยุติธรรม กรมยุทธนาะการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และ กรมมุรธาธิการ (ต่อมาภายหลังได้ยุบกรมยุทธนาธิการไปรวมกับกรมกลาโหมและยุบกรมมุรธาธิการไปรวมกับกรมวัง ดังนั้นตอนปลายรัชกาลที่ 5 จึงมีเพียง 10 กรม (หรือกระทรวงในภายหลัง)

2. ส่วนภูมิภาค ให้ยกเลิกการปกครองแบบหัวเมือง โดแบ่งท้องที่ต่างๆ จากเล็กไปหาใหญ่ คือ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง (จังหวัด) และมณฑล (รวม 4-6 เมืองเป็นหนึ่งมณฑล) และแต่งตั้งข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล เรียกการปกครองแบบนี้ว่า การปกครองแบบเทศาภิบาล นับเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือราชธานี ผู้มีส่วนช่วยเหลือในการปฏิรูปการปกครองคือ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (บิดาแห่งการปกครองไทย)

สาเหตุที่ได้มีการปฏิรูประบบการปกครองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะขณะนั้นมหาอำนาจทางตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส กำลังขยายลัทธิจักรวรรดินิยมเข้ามาในภูมิภาคเอเชียจึงต้องปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยจากการคุกคามของชาติตะวันตก


ข. ตั้งสภาที่ปรึกษารัชกาลที่ 5 ได้ตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นมา 2 สภาคือ1. ปรีวี เคาน์ซิล (องคมนตรีสภา) มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับราชการส่วน พระองค์2. เคาน์ซิล ออฟสเตท (รัฐมนตรีสภา) มีหน้าที่ออกกฎหมายและถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วๆ ไป
ค. การเคลื่อนไหวเตรียมการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยการเสนอคำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ร.ศ.103 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีกลุ่มบุคคลประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการซึ่งเป็นคนไทยรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาต่างประเทศและได้เห็นรูปแบบการปกครองของชาวยุโรปเป็นแบบประชาธิปไตย จึงพร้อมใจกันเสนอคำกราบบังคมทูลดังกล่าว แต่รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริว่าเมืองไทยขณะนั้นยังไม่พร้อมควรค่อนเป็นค่อยไปโดยเริ่มจากการให้การศึกษาแก่ประชาชนก่อน
- สมัยรัชกาลที่ 61. เกิดกบฏ ร.ศ.130 ด้วยมีคณะบุคคลคิดจะทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมี ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า ประกอบด้วยทหารปก ทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่งจะเรียกร้องให้รัชกาลที่ 6 อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาปนาประชาธิปไตยขึ้น แต่ไม่สำเร็จและไม่ทันดำเนินการก็ถูกจับเสียก่อน2. รัชกาลที่ 6 ทรงวางรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย โปรดให้ตั้งดุสิตธานี (หมายถึง นครจำลองที่สมมติขึ้นมา) ทดลองจัดการปกครองแบบประชาธิปไตยเริ่มครั้งแรก พ.ศ.2461 ในเขตพระราชวังดุสิต ในนครสมมติได้แบ่งเป็นเขตอำเภอต่างๆ มีสถานที่ทำการของรัฐบาล มีสถาบันสังคม ศาสนา เศรษฐกิจ มีร้านค้าบ้านเรือนราษฎร ประชาชนที่อยู่ในนครสมมติจะมีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีผู้แทนราษฎร ทำนองเดียวกับประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีหนังสือพิมพ์ คอยติชมวิพากวิจารณ์ สมัยนั้นมีอยู่ 3 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับคือ ดุสิตสมัยและดุสิตรีคอร์เดอร์ และรายสัปดาห์ 1 ฉบับชื่อ ดุสิตสมิต3. ให้รวมมณฑลหลายๆ มณฑลเป็นภาคและให้เรียกจังหวัดแทนคำว่าเมือง
สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)ทรงตระหนักถึงความปราถนาของคนรุ่นใหม่ ที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศทางตะวันตกที่จะให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตย และพระองค์เคยมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนอยู่แล้ว แต่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ทัดทานไว้ว่ายังไม่ถึงเวลาอันควร เพราะราษฎรยังไม่เข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยดีพอ อาจเกิดความเสียหายภายหลังได้ ขณะที่ยังรีรออยู่นั้นก็มีคณะบุคคลคณะหนึ่งใช้ชื่อว่า "คณะราษฎร์" ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเสียก่อน เมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ขณะที่รัชกาลที่ 7 ประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จงตอบคำถามต่อไปนี้

การเศรษฐกิจ
- สมัยรัชกาลที่ 41. อังกฤษขอให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเบอร์นี่ใหม่ ไทยจะไม่ยอมอังกฤษทำท่าว่าจะบังคับ2. ไทยทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ พ.ศ.2398 มีสาระสำคัญทางด้านเศรษฐกิจดังนี้2.1 พ่อค้าอังกฤษเข้ามาค้าขายในประเทศไทยได้โดยเสรีไม่ต้องผ่านคนกลาง2.2 ไทยเก็บภาษีขาเข้าได้ร้อยละ 3 สำหรับสินค้าขาออกใช้อัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดต่อท้ายสัญญา2.3 ไทยให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับอังกฤษสนธิสัญญาเบาริ่งไม่ได้กำหนดเวลาเลิกใช้หรือเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงจะเปลี่ยนได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ
3. โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลง จากการผูกขาดโดยพระคลังสินค้ามาเป็นแบบการค้าเสรี การค้าขายขยายตัวกว้างขวางยิ่งขึ้น4. ระบบการผลิตเริ่มมีการปรับปรุง จากการผลิตแบบยังชีพเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก5. มีการขุดคลองเพื่อการสัญจรและการค้า เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองหัวลำโพง คลองดำเนินสะดวก คลองภาษีเจริญ คลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชา
สมัยรัชกาลที่ 51. ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เมื่อ พ.ศ.2416 เป็นสำนักงานกลางเก็บผลประโยชน์และรายได้ต่างๆ ของแผ่นดิน2. พ.ศ.2435 ให้ยกฐานะหอรัษฎากรพิพัฒน์เป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ3. พ.ศ.2439 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้จัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก เพื่อให้การยอมรับว่าเงินของแผ่นดินเป็นไปอย่างรัดกุมและเป็นระเบียบเรียบร้อย4. นำเงินส่วนพระองค์(ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)ที่เรียกกันว่าพระคลังข้างที่ออกจากพระคลังมหาสมบัติ และให้พระคลังข้างที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อไม่ให้เกิดการปะปนกับรายได้แผ่นดิน5. ยกเลิกเจ้าภาษีนายอากร แต่งตั้งข้าหลวงไปประจำทุกมณฑล6. ปรับปรุงการเงิน เดิมใช้เงินพดด้วงมาเป็นใช้ธนบัตรแทน ใช้เงินเหรียญและสตางค์แทนเงินปลีก (ใช้ระบบทศนิยมแบบมาตราเมตริก คือ 100 สตางค์ เป็น 1 สลึง..)7. ตั้งธนาคารเอกชนแห่งแรกชื่อบุคคลัภย์ ต่อมาเรียกชื่อว่าแบงค์สยามกัมมาจล ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)8. ส่งเสริมอาชีพราษฎร ตั้งกรมชลประทานดูแลและจัดหาน้ำ ตั้งกรมโลหะกิจ ดูแลเหมืองแร่ ตั้งกรมป่าไม้ดูแลป่าไม้ ด้านการสื่อสารตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข สร้างทางรถไฟ
- สมัยรัชกาลที่ 61.ตั้งธนาคารออมสิน2.ตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์3.ตั้งกรมสรรพากรและกรมตรวจเงินแผ่นดินในตอนปลายรัชกาลฐานะการคลังของประเทศทรุดลงเนื่องจากสาเหตุการเกิดอุทกภัยและเศรษฐกิจกระทบกระเทือนด้วยวิกฤตการหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
- สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)1.ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนักเป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่ 12.รัชกาลที่ 7 ทรงแก้ปัญหาด้วยการใช้นโยบายประหยัดดังนี้2.1 ตัดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยทั้งส่วนของราชการและราชสำนัก2.2 ยุบรวมกระทรวง ทบวง กรม2.3 ปลดข้าราชการเป็นจำนวนมากเพื่อลดค่าใช้จ่าย
2. การสังคมและวัฒนธรรม
- สมัยรัชกาลที่ 41. ประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ.121 เป็นฉบับแรก โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และมีมหาเถรสมาคมเป็นที่ปรึกษา2. ทรงตระหนักถึงสถานการณ์ของประเทศไทยว่ากำลังถูกคุกคามจากชาติตะวันตก จึงดำริว่าไทยควรปรับปรุงขนบธรรมเนียมให้เป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติได้แก่ก. โปรดให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้าข. โปรดให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าในงานพระราชพิธีด้วยค. ให้ยกเลิกประเพณีห้ามราษฎรเข้าเฝ้าเวลาเสด็จพระราชดำเนิน ทรงอนุญาตให้ราษฎรรับเสด็จได้โดยสะดวกง. ฟื้นฟูประเพณีตีกลองร้องฎีกา (มีกลองวินิจฉัยเภรีแขวนไว้ใครเดือดร้อนต้องการยื่นฎีกาให้มาตีกลอง)
- สมัยรัชกาลที่ 5
1. ทรงตั้งสถานศึกษาสำหรับสงฆ์คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหรือมหาธาตุวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาฝ่ายมหานิกาย และมหามกุฏราชวิทยาลัยสำหรับฝ่ายธรรมยุติกนิกาย2. ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โปรดให้ทูตานุทูตยืนเฝ้าถวายคำนับ3. ประเพณีการสืบสันตติวงศ์4. ทรงยกเลิกตำแหน่งวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคต ทรงตั้งตำแหน่ง สยามมกุฏราชกุมารขึ้นแทน มกุฏราชกุมารพระองค์แรกคือสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ5. ปรับปรุงประเพณีไว้ผมทรงมหาดไทย โดยให้ชายไทยในพระราชสำนักเลิกไว้ผมทรงมหาดไทย เป็นตัดผมยาวทรงดอกกระทุ่ม6. ใช้แบบเสื้อราชประแตนและสวมหมวกอย่างยุโรปแต่ยังนุ่งผ้าม่วงอยู่7. หลังจากกลับจากประพาสยุโรป สตรีไทยได้หันกลับไปนิยมแบบเสื้อของอังกฤษคือคอตั้งแขนยาว8. ตอนปลายรัชกาลสตรีไทยนิยมนุ่งโจงกระเบน ชายนุ่งกางเกงแบบตะวันตก- สมัยรัชกาลที่ 61. ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง2. กำหนดคำหน้านามว่า นาย นาง นางสาว เด็กชาย และเด็กหญิง3. ออกพระราชบัญญัตินามสกุล4 . ใช้พุทธศักราชเป็นศักราชทางราชการแทนการใช้รัตนโกสินทร์ศก5. เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างที่มีพื้นธงสีแดงล้วนและมีช้างเผือกอยู่ตรงกลางมาเป็น ธงไตรรงค์6. เปลี่ยนการนับเวลาทางราชการโดยใช้เวลามาตรฐานตามเวลากรีนิชเป็นหลัก- สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)ยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 6

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาการชาติไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

พัฒนาการชาติไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

ด้านการเมืองการปกครอง
การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๓๕)

สภาพทางการเมืองในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงรูปแบบของระบบประชาธิปไตยอันเป็นระบบการปกครองที่สืบทอดมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงภายในตัวระบบอยู่ที่การปรับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ รูปแบบของสถาบ้นกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ตาม อำนาจอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ก็มีอยู่แต่ในทางทฤษฎี เพราะในทางปฏิบัติ พระราชอำนาจของพระองค์กลับถูกจำกัดลงด้วยคติธรรมในการปกครอง ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม กับอีกประการหนึ่ง คือ การถูกแบ่งพระราชอำนาจตามการจัดระเบียบควบคุมในระบบไพร่ ซึ่งถือกันว่า พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพระองค์ก็มิอาจจะควบคุมดูแลไพร่พลเป็นจำนวนมากได้ทั่วถึง จึงต้องแบ่งพระราชอำนาจในการบังคับบัญชากำลังคนให้กับมูลนายในระดับรองๆ ลงมา ในลักษณะเช่นนั้น มูลนายที่ได้รับมอบหมายให้กำกับไพร่และบริหารราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระ กรรณ จึงเป็นกลุ่มอำนาจมีอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มใดจะมีอำนาจเหนือกลุ่มใดก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมของสังคมในขณะนั้น เป็นสำคัญ
การปกครองและการบริหารประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมืองทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล ในด้านระบบการบริหาร ก็ยังคงมีอัครมหาเสนาบดี ๒ ฝ่าย คือ สมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ตำแหน่งรองลงมาคือ เสนาบดีจตุสดมภ์ แบ่งตามชื่อกรมที่มีอยู่คือ เวียง วัง คลังและ นา ในบรรดาเสนาทั้ง ๔ กรมนี้ เสนาบดีกรมคลังจะมีบทบาทและภาระหน้าที่มากที่สุด คือนอกจากจะบริหารการคลังของประเทศแล้ว ยังมีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก เสนาบดีทั้งหลายมีอำนาจสั่งการภายในเขตความรับผิดชอบของตน รูปแบบที่ถือปฏิบัติก็คือ ส่งคำสั่งและรับรายงานจากเมืองในสังกัดของตน ถ้ามีเรื่องร้ายที่เกิดขึ้น เสนาบดีเจ้าสังกัดจะเป็นแม่ทัพออกไปจัดการเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อย มีศาลของตัวเองและสิทธิในการเก็บภาษีอากรในดินแดนสังกัดของตน รวมทั้งดูแลการลักเลขทะเบียนกำลังคนในสังกัดด้วย
การบริหารในระดับต่ำลงมา อาศัยรูปแบบการปกครองคนในระบบไพร่ คือ แบ่งฝ่ายงานออกเป็นกรมกองต่างๆ แต่ละกรมกอง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการควบคุมกำลังคนในสังกัดของตน โครงสร้างของแต่ละกรม ประกอบด้วยขุนนางข้าราชการอย่างน้อย ๓ ตำแหน่ง คือ เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี กรมมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก กรมใหญ่มักเป็นกรมสำคัญ เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์ถึงขนาดเจ้าพระยาหรือพระยา
กรมของเจ้านายที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ กรมของพระมหาอุปราช ซึ่งเรียกกันว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมของพระองค์มีไพร่พลขึ้นสังกัดมาก กรมของเจ้านายมิได้ทำหน้าที่บริหารราชการโดยตรง ถือเป็นกรมที่ควบคุมกำลังคนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น การแต่งตั้งเจ้านายขึ้นทรงกรมจึงเป็นการให้ทั้งความสำคัญ เกียรติยศ และความมั่นคงเพราะไพร่พลในครอบครองเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอำนาจและความ มั่งคั่งของมูลนายผู้เป็นเจ้าของการบริหารราชการส่วนกลาง มีพระมหากษัตริย์เป็นมูลนายระดับสูงสุด เจ้านายกับขุนนางข้าราชการผู้บังคับบัญชากรมต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ฐานะเป็นมูลนายในระดับสูง ช่วยบริหารราชการ โดยมีนายหมวด นายกอง เป็นมูลนายระดับล่างอยู่ใต้บังคับบัญชา และทำหน้าที่ควบคุมไพร่อีกต่อหนึ่ง การสั่งราชการจะผ่านลำดับชั้นของมูลนายลงมาจนถึงไพร่
สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง ขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดี ๒ ท่าน และเสนาบดีคลัง ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น หัวเมืองแบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร
หัวเมืองชั้นใน เป็นหน่วยปกครองที่อยู่ใกล้เมืองหลวง มีเจ้าเมืองหรือผู้รั้ง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าปกครองดูแล
หัวเมืองชั้นนอก มีทั้งหัวเมืองใหญ่ หัวเมืองรอง และหัวเมืองชายแดน หัวเมืองเหล่านี้ อยู่ใต้การปกครองของเจ้าเมือง และข้าราชการในเมืองนั้นๆ
นโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น กล่าวคือ รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงออกพระราชกำหนดตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ต้องรายงานตัวต่อผู้ตั้งทุกปี ทั้งนี้เพื่อผลในการควบคุมไพร่พลและเกณฑ์ไพร่มาใช้ เพราะฉะนั้น มูลนายในเมืองหลวงจึงได้ควบคุมสัสดีต่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด
ส่วนการปกครองในประเทศราช เช่น ลาว เขมร มลายู นั้น ไทยใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น โดยการนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรมของพระ มหากษัตริย์ในราชสำนักไทยหรือสนับสนุนให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้ง สองฝ่าย และภายหลังก็ส่งเจ้านายพระองค์นั้นไปปกครองเมืองประเทศราช ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกันขึ้นระหว่างกษัตริย์ไทยกับเจ้านายเมืองขึ้น การปกครอง หรือการขยายอำนาจอิทธิพลในอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้ ฝ่ายไทยและประเทศราชไม่มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขึ้นกับอำนาจความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย เพราะฉะนั้น ในช่วงใดที่ประเทศอ่อนแอ เมืองขึ้นก็อาจแข็งเมืองหรือหันไปหาแหล่งอำนาจใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่ออำนาจตะวันออกแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนเอเซียอาคเนย์ ปัญหาเรื่องอิทธิพลในเขตแดนต่างๆ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเวลาทำความตกลงกัน
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การปฏิรูปเศรษฐกิจ ก็ได้แก่ การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร ส่วนการปฏิรูปสังคมก็ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการคมนาคม เป็นต้น
สำหรับมูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ ๒ ประการ คือ
๑.มูลเหตุภายใน ทรง พิจารณาเห็นว่าการปกครองแบบเดิมไม่เหมาะสมกับสภาพทางการปกครองและทางสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น การคมนมคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาได้ยาก
๒.มูลเหตุภายนอก ทรง พิจารณาเห็นว่า หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น แต่เดิมเราต้องยินยอมให้ประเทศตะวันตกหลายประเทศมีสิทธิภาพนอกอาณาเขตคือ สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได้ โดยไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับของศาลไทย เพราะอ้างว่า ศาลไทยล้าสมัย
ด้านเศรษฐกิจ
สภาพทางเศรษฐกิจสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงยึดแบบแผนที่ปฏิบัติมา ตั้งแต่สมัยอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรีเป็นหลัก ซึ่งพอจะประมวลองค์ประกอบทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้ 3 ประการคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้า ที่มาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ ระบบเงินตรา
1. หน่วยงานที่เกี่ยวกับการค้าและเศรษฐกิจ
1.1 พระคลังสินค้า เป็นหน่วยงานที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวกับการค้าขาย ทำหน้าที่ควบคุมสินค้าขาเข้าและขาออก ตลอดจนการเลือกซื้อสินค้าที่ทางราชการต้องการ หรือสินค้าผูกขาด (สินค้าที่ทางราชการต้องการและคิดว่ามีอันตรายหากพ่อค้าจะทำการซื้อขายกัน โดยตรง) ได้แก่ อาวุธ กระสุนปืน และควบคุมกำหนดสินค้าต้องห้าม (คือสินค้าที่หายากและมีราคาแพง ราษฎรต้องนำมาขายให้แก่ทางราชการ) ได้แก่ งาช้าง รังนก ฝาง กฤษณา พระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานการค้าแบบผูกขาด จึงได้ผลกำไรมาก แต่เมื่อไทยมีการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะชาวตะวันตก พ่อค้าเหล่านั้นไม่ได้รับความสะดวกภายหลังหน่วยงานนี้ถูกยกเลิกไปภายหลังการ ทำสนธิสัญญาเบาว์ริง
1.2 กรมท่า เป็นกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับพ่อค้าต่างชาติ เพราะกรมนี้มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองชายทะเล จึงเป็นกรมที่กว้างขวางและคุ้นเคยกับชาวต่างชาติ ปัจจุบันกรมนี้คือกระทรวงการต่างประเทศ
1.3 เจ้าภาษีนายอากร ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บภาษีใหม่ คือรัฐบาลจะเรียกเก็บภาษีอากรเฉพาะที่สำคัญๆ เท่านั้น ส่วนที่เหลือก็จะประมูลให้เอกชนรับเหมาผูกขาดในการดำเนินการเรียกเก็บจาก ราษฎร ผู้ที่ประมูลได้เรียกว่า "เจ้าภาษีหรือนายอากร" ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนเกือบทั้งหมดตามหัวเมือง ราษฎรจะเรียกว่า กรมการจีน
ระบบเจ้าเจ้าภาษีนายอากรนี้มีทั้งผลดีและผลเสียต่อชาติดังนี้
ผลดี ช่วยประหยัดในการลงทุนดำเนินการ ทำให้ท้องพระคลังมีจำนวนภาษีที่แน่นอนไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการเรียกเก็บ
ผลเสีย เจ้าภาษีนายอากรบางคนคิดหากำไรในทางมิชอบ มีการรั่วไหลมักใช้อำนาจข่มขู่ราษฎรเรียกเก็บเงินตามพิกัด
2. ที่มาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ
2.1 การเกษตร มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของชาวไทยตลอดเวลา มีกรมนารับผิดชอบ รายได้ของแผ่นดินส่วนใหญ่รับจากภาษีอากรด้านการเกษตร เช่น อากรค่านา อากรสมพัตสร (เก็บจากไม้ล้มลุกแต่ไม่ใช่ข้าว) และมีการเดินสวน เดินนา
2.2 การค้าขาย การค้าจะทำโดยพระคลังสินค้าและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ สินค้าที่มีการซื้อขายระหว่างพระคลังกับพ่อค้ามี 2 ประเภทคือ สินค้าผูกขาดกับสินค้าต้องห้าม และได้มีการส่งเรือสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นของทางราชการ เช่นค้าขายกับจีน อินเดียและพวกอาหรับ ในสมัยรัชกาลที่ 2 การค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากขึ้น เพราะพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3 ต่อมา) ทรงเป็นหัวแรงสำคัญจนได้รับสมญาว่า "เจ้าสัว" และมีการค้าขายกับทางตะวันตก เช่น โปรตุเกส อังกฤษ อเมริกา ฮอลันดา สมัยรัชกาลที่ 3 การค้าขายสะดวกรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษ
2.3 ภาษีอากร ภาษีอากรที่เรียกเก็บ มี 4 ประเภทคือ
- จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านที่เก็บจากเรือ เกวียน หรือเครื่องบรรทุกอื่นที่ผ่านด่าน
- อากร คือ ภาษีที่เก็บจากราษฎรซึ่งประกอบอาชีพที่มิใช่การค้า ซึ่งปกติจะเรียกอากรตามอาชีพที่ทำ เช่น อากรค่านา อากรสุรา
- ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากค่าบริการที่ทางราชการทำให้แก่ราษฎร เช่น ออกโฉนด ค่าธรรมเนียมศาล
- ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่หลวงผู้ที่ไม่ต้องเข้าเวรส่งมอบแทนการเข้าประจำการ 3.ด้านเงินตรา
- เงินพดด้วง (รูปสัณฐานกลมเป็นก้อนแต่ตีปลาย 2 ข้างงอเข้าหากัน)
- เงินปลีกย่อย ใช้เบี้ยและหอยเหมือนสุโขทัยและอยุธยา
ด้านสังคม
สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรี
องค์ประกอบของสังคมไทยประกอบด้วยสถาบันต่างๆ ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ และทาส
1. พระมหากษัตริย์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นทั้งเทวราชาและธรรมราชาพระมหากษัตริย์ในฐานะองค์สมมติเทพ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นสมมติเทพตามติของศาสนาพราหมณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์สะท้อนให้เห็นถึงความเป็น สมมติเทพ เช่น การสร้างที่ประทับ พระที่นั่งพระราชวัง การประกอบพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น พระมหากษัตริย์ในฐานะธรรมราชา ตามคติธรรมราชานั้นถือว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม 10 ประการ และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ อย่างไรก็ตาม โดยขัตติยราชประเพณีแล้วพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะประดุจดังสมมติเทพ โดยคติความเชื่อ แต่ในทางปฏิบัติ พระองค์ทรงเป็นธรรมราชา ทำให้ฐานะของพระมหากษัตริย์ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะของความเป็นผู้ นำทางการเมืองที่เหมือนคนธรรมดามากขึ้น แต่พระองค์ก็ยังทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดเป็นเจ้าชีวิตของปวงชน เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นจอมทัพ เป็นต้น และพระบรมราชโองการของพระองค์ ผู้ใดจะฝ่าฝืนไม่ได้ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษอย่างหนั2. พระบรมวงศานุวงศ์
สกุลยศและอิสริยยศของพระบรมวงศานุวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายส่วนใหญ่ก็อยู่ในฐานะอันสูงส่ง ทั้งนี้เพราะเป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศกับอิสริยศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สกุลยศมีอยู่ 3 ตำแหน่ง คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วน อิสรยศ คือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้น อิสริยยศที่สำคัญที่สุดและสูงที่สุด ได้แก่ พระมหาอุปราช นอกจากนี้การได้รับตำแหน่งทรงกรมก็คือเป็นอิสริยยศด้วยเหมือนกัน ได้แก่ กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จ การถือศักดินาของพระบรมวงศานุวงศ์ แตกต่างกันไปตามลำดับ ถ้าเป็นเจ้าฟ้าจะมีศักดินาสูงสุด หม่อมราชวงศ์จะมีศักดินาต่ำสุด แต่ถ้าทรงกรมก็มีศักดินาสูงกว่าเจ้านายในระดับเดียวกัน แต่มิได้ทรงกรม เช่น เจ้าฟ้าที่เป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาของพระมหากษัตริย์ถ้าไม่ได้ทรงกรมจะถือ ศักดินา 20,000 ไร่ ถ้าทรงกรมจะถือศักดินาถึง 50,000 ไร่ตามลำดับ สิทธิตามกฏหมายของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีสิทธิอยู่ 2 ประการ คือ จะพิจารณาคดีของพระบรมวงศานุวงศ์ในศาลใดๆ ไม่ได้นอกจากศาลของกรมวัง และ จะนำพระบรมวงศานุวงศ์ไปขายเป็นทาสไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่ยอมให้กระทำสัญญาซื้อขายเช่นนั้นได้อย่างถูกต้องตาม กฏหมาย
3. ขุนนาง
คือ บุคคลที่รับราชการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่ง เป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ ขุนนางเปรียบเหมือนข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการแผ่นดินบางคนจะไม่ได้มีฐานะเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางต้องขึ้นอยู่กับศักดินาของตนด้วย ผู้มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปถึงได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็กเพราะถือว่าพวกนี้เป็นขุนนางอยู่แล้ว
การลำดับยศของขุนนาง ยศของขุนนางมี 7 ลำดับ จากสูงสุดไปต่ำสุดดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระ หลวง ขุน หมื่น และ พัน ศักดินาของสมเด็จเจ้าพระยาอยู่ในระดับ 30,000 ไร่ นับว่าสูงสุดในบรรดาขุนนางทั้งหลาย ส่วนพันถือศักดินา 100-400 ไร่ หมื่นถือศักดินา 200-800 ไร่ ขุนถือศักดินา 200-1,000 ไร่ สำหรับขุนนางที่มียศเป็นหลวงขึ้นไป มีศักดินาไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ขึ้นไป แสดงว่าผู้เป็นพัน หมื่น ขุนอาจมีสิทธิไม่ได้เป็นขุนนางก็ได้ ถ้าศักดินาของตนเองไม่ถึง 400 ไร่ และอาจมีสิทธิเป็นขุนนางได้ถ้ามีศักดินาถึง 400 ไร่ขึ้นไป สิทธิตามกฏหมายของพวกขุนนาง เช่น ได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงานไปใช้ โดยการยกเว้นนี้ต่อเนื่องไปถึงบุตรของขุนนางด้วย แต่ถ้าผู้ใดเป็นข้าราชการมีศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ก็จะได้รับเอกสารยกเว้นการเกณฑ์แรงงานเป็นรายบุคคล แต่เอกสารนี้มิได้คลุมไปถึงลูกของข้าราชการเหล่านั้น สำหรับผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าในการเสด็จออกขุนนาง และได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้ เป็นต้น
4. ไพร่
ฐานันดรไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีสภาพไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยา ไพร่ถูกมูลนายเอาชื่อเข้าบัญชีไว้ เพื่อเกณฑ์แรงงานไปใช้ในราชการต่างๆ ด้วยเหตุนี้ไพร่จึงต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วยและถ้า เจ้าขุนมูลนายของตนสังกัดอยู่กรมกองใด ไพร่ผู้นั้นก็ต้องสังกัดในกรมกองนั้นตามเจ้านายด้วย
ไพร่อาจแบ่งประเภทตามสังกัดได้เป็น 2 ประเภท คือ ไพร่หลวงและไพร่สม ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่พระราชทานแก่กรมกองต่างๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง หน้าที่ของไพร่หลวงจึงแตกต่างกันไปตามหน้าที่ที่ระบุไว้ของแต่ละกรมกอง ดังนั้นไพร่หลวง จึงอยู่ในกรม 2 ประเภท คือ ไพร่หลวงที่ต้องมารับราชการตามที่ทางราชการกำหนดไว้ หากมาไม่ได้ต้องให้ผู้อื่นมาแทนหรือส่งเงินแทนการรับราชการ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯให้ไพร่หลวงเปลี่ยนเป็นอยู่เวรรับราชการปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2 เดือน ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงลดเวลารับราชการของไพร่หลวงลงอีกจาก 4 เดือน เป็น 3 เดือนต่อปี คือเข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 3 เดือน ไพร่หลวงที่ต้องเสียเงิน แต่ไม่ต้องมารับราชการ ซึ่งเรียกว่า ไพร่หลวงส่วย ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทำราชการเพื่อเป็นผลประโยชน์ เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีเงินเดือน การควบคุมไพร่ของมูลนายจึงหมายถึงการได้รับผลประโยชน์ตอบแทน เช่น ได้รับส่วนลดจาการเก็บเงินค่าราชการ หรือได้รับของกำนัลจากไพร่ เป็นต้น ไพร่สมนั้นจะตกเป็นของมูลนายตราบเท่าที่ขุนนางผู้เป็นมูลนายยังมีชีวิตอยู่ ในตำแหน่งราชการ เมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรของขุนนางผู้นั้นจะยื่นคำร้องขอควบคุมไพร่สมต่อจากบิดา
ไพร่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานะของตนเองได้ใน 2 กรณี คือ ถ้าทำความดีความชอบอย่างสูงต่อแผ่นดิน อาจได้รับเลื่อนฐานะเป็นขุนนางได้ แต่ถ้ามีความผิดหรือเป็นหนี้สินต่อนายเงิน ก็จะต้องตกเป็นทาสได้เช่นกัน
ในเรื่องความเป็นอยู่ของไพร่นั้น ไพร่หลวงจะมีฐานะลำบากที่สุด ส่วนไพร่ส่วยสบายที่สุด เพราะในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์แรงงานเพื่อเข้ารับราชการ ทั้งในยามสงครามและยามสงบปีละ 3 เดือน ส่วนไพร่สมก็มีหน้าที่รับใช้มูลนายเป็นส่วนใหญ่ ไพร่สมจึงทำงานเบากว่าไพร่หลวง
5. ทาส
หมาย ถึง บุคคลที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่กลับตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส นายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้น
การแบ่งประเภทของทาส ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทาสคงมีอยู่ 7 ประเภทเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ได้แก่ ทาส ไถ่มาด้วยทรัพย์,ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย,ทาสที่ได้มาข้างฝ่ายบิดามารดา, ทาสมีผู้ให้,ทาสอันได้ช่วยกังวลธุระทุกข์ด้วยคนต้องโทษทัณฑ์,ทาสที่เลี้ยง เอาไว้ในเวลาข้าวยากหมากแพง,และทาสเชลย ทาสเหล่านี้อาจไม่ยอมขอทานเพราะถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย จึงยอมขายตัวลงเป็นทาส การหลุดพ้นจากความเป็นทาส ทาสมีโอกาสได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความเป็นทาส ในกรณีต่อไปนี้ - ถ้านายเงินอนุญาตให้ทาสบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรหรือนางชี ก็ถือว่าหลุดพ้นจากความเป็นทาส แม้ภายหลังจะลาสิกขาบทแล้ว ก็จะเอาคืนมาเป็นทาสของตนไม่ได้ - ในกรณีนายเงินใช้ทาสไปทำสงครามและทาสถูกจับเป็นเชลย ต่อมาหนีรอดมาได้ก็หลุดพ้นจากความเป็นทาส ถ้าทาสฟ้องนายว่าเป็นกบฏและสวบสวนได้ว่าเป็นจริง ให้ทาสนั้นพ้นจากความเป็นทาสได้ - นายเงิน พ่อของนายเงิน หรือพี่น้องลูกหลานของนายเงิน ได้ทาสเป็นภรรยา ให้ทาสนั้นเป็นไท และลูกที่เกิดมานั้นเป็นไทด้วย ถ้าทาสนั้นตายด้วยการทำธุรกิจใดๆ ให้แก่นายเงิน นายเงินจะเรียกเอาเงินคืนจากผู้ขายไม่ได้ แต่ถ้าตายด้วยเหตุอื่นนายเงินจะเรียกเอาเงินคืนจากผู้ขายได้บ้าง เป็นอิสระด้วยการไถ่ตัว อาจจะเป็นผู้ขอไถ่ตัวเอง หรือมีบุคคลใดก็ได้มาไถ่ให้เป็นอิสระ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายหลังจากการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ทาสจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกทาสได้เพิ่มจำนวนมาก และคาดว่าผู้ที่เป็นทาสนั้นมีจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่ยอมเป็นทาสเพราะปัญหาซึ่งมีหนี้สินเป็นจำนวนมากที่สุด ทั้งนี้เพราะพวกชาวบ้านเป็นจำนวนมากที่ต้องเป็นหนี้สินเนื่องจากเก็บเกี่ยว ไม่ได้ผล แต่ก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ยอมขายตัวเพื่อจะได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปทำงาน
นอกจากนี้สถาบันสงฆ์ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมไทย ซึ่งพระมหากษัตริย์ ขุนนาง ไพร่ ทาส อาจเปลี่ยนสถานภาพจากฆราวาสมาเป็นพระภิกษุในสถาบันสงฆ์ได้ และผู้เป็นพระสงฆ์จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเกณฑ์แรงงาน
พระสงฆ์จะเป็นผู้ได้รับความเคารพนับถือจาก คนไทยทุกระดับชั้น ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ลงมาจนถึงไพร่และทาส แต่ในบางครั้งเมื่อสถาบันพระสงฆ์เสื่อมโทรมด้วยข้อวัตรปฏิบัติ พระมหากษัตริย์จะทรงเอาเป็นพระธุระเพื่อปรับปรุงแก้ไข และทำการปฏิรูปคณะสงฆ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้น ดังเช่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงออกกฏหมายพระสงฆ์เพื่อควบคุมให้พระสงฆ์มีความบริสุทธิ์ เป็นต้น
สำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาพำนักอาศัยอยู่ใน ราชอาณาจักรมีอยู่ด้วยกันหลายพวก เป็นต้นว่า มอญ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน บางพวกก็หนีร้อนมาพึ่งเย็น บางพวกก็ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย ไม่ได้มีโอกาสกลับบ้านเมืองของตนเอง แต่ในบรรดาคนต่างด้าวที่เข้ามาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรและมีผลกระทบอย่าง สำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจของไทยในสมัยนี้คือพวกคนจีน
ด้านศิลปวัฒนธรรม
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นับว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาให้กลับมาเจริญ รุ่งเรืองขึ้นใหม่ นอกจากนี้ก็มีการปรับปรุงเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ให้วัฒนธรรมไทยในยุคนี้ด้วย นับได้ว่าเป็นการธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อยุธยาให้กลับเจริญ รุ่งเรือง หลังจากประสบกับวิกฤตการณ์สงครามสู้รบระหว่างไทยกับพม่ามาแล้ว
สภาพทางสังคมของไทยตั้งแต่อดีต ได้ผูกพันกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมจึงมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเจริญ รุ่งเรืองทางศาสนาด้วย ศิลปกรรมและวรรณกรรมต่างๆ ที่บรรจงสร้างด้วยความประณีตก็เกิดจากแรงศรัทธาทางศาสนาทั้งสิ้น
1.การทำนุบำรุงทางด้านพระพุทธศาสนา
ในสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ.2325-2352) พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฏกที่วัดมหาธาตุยุวราชรัง สฤษดิ์ ใน พ.ศ.2331 โดยใช้เวลาประชุมกันประมาณ 5 เดือน ในสมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ.2352-2367) พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชกุศลอย่างใหญ่โตในวันวิสาขบูชา เหมือนดังที่เคยทำกันในสมัยอยุธยา คือ ทำบุญกันทั่วไปเป็นเวลา 3 วัน สัตว์ที่เคยถูกฆ่าเป็นอาหารนั้นโปรดให้ปล่อยให้หมดภายใน 3 วัน มิให้มีการฆ่าสัตว์โดยเด็ดขาด ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระองค์ทรงทำนุบำรุงคณะสงฆ์ ตลอดจนทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปและวัดวาอารามมากมาย ในสมัยนี้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ได้มีโอกาสเผยแผ่ ในประเทศไทยโดยพวกมิชชันนารี ทำให้คนไทยบางส่วนหันไปนับถือศาสนาคริสต์ ขณะเดียวกันในวงการพระพุทธศาสนาของไทยก็มีการเคลื่อนไหวที่จะปฏิรูปข้อ วัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ไทยให้สอดคล้องกับคำสอนในพระไตรปิฏก โดยเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และได้เสด็จมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ.2370-2394) ทรงเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการปฏิรูปครั้งนั้น จนกระทั่งได้ทรงตั้งนิกายใหม่ เรียกว่า "ธรรมยุติกนิกาย"
2. การทำนุบำรุงศิลปกรรม
การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 ในบรรดาศิลปกรรมของไทยซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงให้ความสนพระทัยมากนั้น ได้แก่ บรรดาตึกรามต่างๆ ที่สร้างขึ้น ล้วนมีการตกแต่งลวดลายอย่างงดงามทั้งภายในและภายนอก ทั้งโดยปูนและโดยไม้แกะสลัก ตึกที่ทรงให้จัดสร้างขึ้นส่วนมากเป็นวัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีพระที่นั่งต่างๆ เช่น พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย, พระที่นั่งไพศาลทักษิณ, พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน, พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นต้น รัชกาลที่ 1 ทรงสนพระทัยทางด้านวรรณคดี ดังนั้นในสมัยนี้จึงมีบทวรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ นอกจากนี้ก็มีการแปลวรรณกรรมต่างชาติมาเป็นภาษาไทย เช่น หนังสือสามก๊ก ,ราชาธิราช เป็นต้น
การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงสนพระทัยในเรื่องการก่อสร้างและตกแต่งตึกรามต่างๆ พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้าง "สวนขวา" ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ทรงริเริ่มสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม (แต่สร้างสำเร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 3) พระปรางค์จะตกแต่งด้วยถ้วยและชามจีนซึ่งทุบให้แตกบ้าง แล้วติดกับฝาทำเป็นลวดลายรูปต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการแกะสลัก ดังจะเห็นได้จากประตูวัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม ประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นต้น รัชกาลที่ 2 โปรดการฟ้อนรำอย่างโบราณของไทยเป็นอันมาก ทั้งโขนและละคร ทรงปรับปรุงจังหวะและท่ารำต่างๆ โดยพระองค์เอง พระองค์โปรดให้มีพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นใหม่ ทั้งที่เป็นเรื่องเดิมและเรื่องใหม่ หรือเอาเรื่องเดิมมาแต่งขึ้นใหม่ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มีทั้งหมด 7 เรื่อง เรื่อง"อิเหนา" เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เองตลอดทั้งเรื่อง ส่วนอีก 6 เรื่อง โปรดเกล้าฯ ให้กวีท่านอื่นๆ ร่วมงานด้วย
การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 การผลิตงานทางด้านศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 3 จัดว่ามีลักษณะเยี่ยมยอดในวงการศิลปะของไทยไม่แพ้ในสมัยอื่น ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงมุ่งซ่อมแซมและปรับปรุงปราสาทมากกว่าจะสร้างใหม่ โดยระมัดระวังรักษาแบบดั้งเดิมเอาไว้ พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์และขยายเขตวัดวาอารามมากมาย ทรงสร้างวัดด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ขึ้น 5 วัด ให้เชื้อพระวงศ์และขุนนางสร้างอีก 6 วัด วัดสำคัญที่สร้างในสมัยนี้ได้แก่ วัดเทพธิดาราม,วัดราชนัดดา,วัดเฉลิมพระเกียรติ์,วัดบวรนิเวศวรวิหาร,วัดบวร สถาน,วัดประยูรวงศ์,วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น สิ่งก่อสร้างมากมายที่เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมทางศาสนาของไทย เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระสถูป พระมลฑป หอระฆัง เป็นต้น โบสถ์และวิหารที่สร้างขึ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาลาดเป็นชั้น มุงกระเบี้องสี ผนังก่ออิฐถือปูนประดับลวดลาย และมีเสาใหญ่รายรอบรับชายคา โบสถ์ขนาดใหญ่และสวยงามที่สร้างในรัชกาลนี้คือ โบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งสร้างแบบสามัญ ส่วนโบสถ์วัดบวรนิเวศวรวิหารสร้างเป็นแบบมีมุขยื่นออกมาทั้งสองข้างทางด้าน ปลาย สถาปัตยกรรมแบบไทยอย่างอื่นๆ ที่มีความสำคัญรองลงมา คือ พระมณฑป ศาลา หอระฆัง และระเบียงโบสถ์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 และเป็นงานที่ดีที่สุด คือ ระเบียงรอบพระวิหารที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งมีหน้าบันแกะสลักไว้อย่างงดงาม
ผลงานทางสถาปัตยกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ได้ก่อสร้างไว้ บริเวณวัด และจัดอยู่ในจำพวกสิ่งก่อสร้างปลีกย่อยคือ เรือสำเภาซึ่งก่อด้วยอิฐ รัชกาลที่ 3 ทรงมีรับสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อว่าในอนาคตเมื่อไม่มีการสร้างเรือสำเภากันอีก แล้ว ประชาชนจะได้แลเห็นว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร วัดที่พระองค์ทรงรับสั่งให้สร้างสิ่งอันเป็นประวัติศาสตร์นี้ คือ "วัดยานนาวา"
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภาพเขียนแบบไทยต่างๆ ส่วนมากไม่โดดเด่น ที่เขียนขี้นมาส่วนใหญ่เพื่อความมุ่งหมายในการประดับให้สวยงามเท่านั้น ส่วนงานช่างแกะสลักในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนามากกว่างานช่างในสาขาจิตรกรรม โดยเฉพาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเครื่องบันดาลใจอันสำคัญยิ่งที่ก่อให้เกิดผลงานทางด้านศิลปะประเภทนี้
ทางด้านวรรณกรรม รัชกาลที่ 3 ทรงสนับสนุนวรรณคดีทางศาสนาและประวัติศาสตร์ ดังเช่น หนังสือเรื่อง "มลินทปัญญา" เป็นต้น แต่ในสมัยนี้ไม่สนับสนุนให้มีการแสดงละครภายในพระบรมมหาราชวัง ทั้งยังไม่โปรดปรานนักแสดงหรือนักประพันธ์คนใดเลย
กล่าวโดยสรุป ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การทำนุบำรุงและฟื้นฟูทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และการทำนุบำรุงก็กระทำโดยวิธีรักษารูปแบบเดิมไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ผสมผสานเข้าไปด้วย ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของไทยในยุคนี้เจริญรุ่งเรืองมาก
***************************************

วิธีทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากนิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย
การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where), "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) วิธิการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่
การรวบรวมหลักฐาน
การคัดเลือกหลักฐาน
การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน
การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน
การนำเสนอข้อเท็จจริง[2]
นอกจากนี้ รอบิน จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง Idea of History ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธิการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังนี้
วิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างจากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
นักประวัติศาสตร์ต้องระมัดระวังในการยืนยันความถูกต้องของหลักฐาน
การนำเสนอในลักษณะ "ตัด-แปะประวัติศาสตร์" ไม่ถูกต้องและเป็นวิธีการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอโดยการประมวลความคิดให้เป็นข้อสรุป
วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นแบบวิทยาศาสตร์คือการตั้งคำถาม
ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์จะช่วยให้มนุษย์เกิดสำนึกในการค้นคว้าและสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบัน อันสร้างความภูมิใจและกระตุ้นความรู้สึกนิยมในชาติหรือเผ่าพันธุ์ ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้, ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์จะทำให้เข้าใจถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบจากปัญหา, การศึกษาประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินนโยบายให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งปัจจุบันและอนาคต, วิธีการทางประวัติศาสตร์ทำให้ผู้ศึกษาสั่งสมประสบการณ์และทักษะในการวิเคราะห์ ไต่สวน และแก้ปัญหา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาศาสตร์แขนงอื่น ๆ คุณสมบัตินี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรในสังคมที่เจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการสูง
สำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์นั้นจะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ประกอบด้วย
มีความเป็นกลาง (Objectiveness or Objectivity)
มีความคิดที่เป็นประวัติศาสตร์ (Historical thinking)
มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurary)
มีความเป็นระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Love of order)
มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ (Logic)
มีความซื่อสัตย์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง (Honesty)
มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน (Self-awareness)
มีจินตนาการ (Historical imagination)[3]

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากลและไทย

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล

หลักเกณฑ์ในการแบ่งสมัยทางประวัติศาสตร์ การศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไทย สามารถแบ่งช่วงในการศึกษาได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ โดยการแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์กับสมัย ประวัติศาสตร์ ยึดถือเอาอายุของตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดเป็นเกณฑ์การแบ่ง สำหรับดินแดนประเทศ ไทยเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์เมื่อพุทธศตวรรษที่ 11 โดยใช้อายุของตัวอักษรบนจารึกซึ่งพบจาก เมืองโบราณที่ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นหลัก โดยแต่ละสมัย นักวิชาการจะใช้หลักฐานในการ ศึกษาแตกต่างกัน ดังนี้


1). สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับบันทึกเรื่องราว การศึกษาร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจาก หลักฐานชั้นต้นที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะ เครื่อง ประดับ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก เมล็ดพืช ภาพเขียนสีตามฝาผนังถ้ำ

2). สมัยประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว การศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ จะมีการใช้หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ อักษร เช่น จารึก จดหมายเหตุ บันทึกการเดินทาง ปูมโหร พงศาวดาร ตำนาน เป็นต้น และ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ ปราสาทหิน เมืองโบราณ วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เงินเหรียญ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ตีความเพื่อให้ทราบเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น


2. หลักเกณฑ์การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักวิชาการมีหลักในการแบ่งยุค ดังนี้ แบบที่หนึ่ง ให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยถือว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ยุค ประกอบด้วย

1) ยุคหิน แบ่งย่อยออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว
- ยุคหินเก่า มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บหาอาหาร อาศัยอยู่ในถ้ำ ใช้เครื่องมือหินที่ทำแบบหยาบๆ รู้จักเขียนภาพตามผนังถ้ำ
- ยุคหินกลาง มนุษย์ดำรงชีวิตเหมือนยุคหินเก่า รู้จักทำเครื่องมือหินที่ประณีต มากขึ้น รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะผิวเรียบมัน
- ยุคหินใหม่ มนุษย์ยุคนี้ดำรงชีวิตโดยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ตั้งหลักแหล่งถาวร ทำเครื่องมือหินขัด ทำเครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องประดับ

2) ยุคโลหะ ครอบคลุมช่วงเวลาประมาณ 4,000 ปี - 1,500 ปีล่วงมาแล้ว แบ่งย่อย ออกเป็นยุคทองแดง ยุคสำริด และยุคเหล็ก คือ ยึดถือเอาชนิดของโลหะที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์เป็นเกณฑ์ การแบ่ง
- ยุคสำริด มนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนใหญ่ขึ้น ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก รู้จัก ปลูกข้าว มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว หมู ชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่ายุคหินใหม่ รู้จักทำสำริดเป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับ
- ยุคเหล็ก การดำรงชีวิตเจริญและซับซ้อนกว่ายุคสำริด มีการติดต่อค้าขายกับ อารยธรรมต่างแดน ทำให้ผู้คนมีความเจริญแตกต่างกัน มีการนำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีความคงทนกว่าสำริด ใช้งานได้ดีกว่า แบบที่สอง ให้ความสำคัญในเรื่องแบบแผนการดำรงชีวิตของผู้คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุค ประกอบด้วย
2.1) ยุคชุมชนล่าสัตว์ หรือเรียกว่า ยุคชุมชนหาของป่า ยุคนี้จะครอบคลุมช่วงเวลา ประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว
2.2) ยุคหมู่บ้านเกษตรกรรม เป็นช่วงที่มนุษย์รู้จักการดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยง สัตว์ สังคมยุคนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปี - 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
2.3) ยุคสังคมเมือง เป็นช่วงที่ชุมชนพัฒนาเป็นสังคมเมือง มีลักษณะเป็นเมืองเล็กๆ สังคมแบบนี้จะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีล่วงมาแล้ว



· สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับบันทึกเรื่องราว การศึกษาถึงร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงนี้จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจากหลักฐานชั้นต้นที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะ เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก เมล็ดพืช ภาพเขียนตามฝาผนังถ้ำ เป็นต้น



· สมัยประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว การศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ จะมีการใช้หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ อักษร เช่น จารึก จดหมายเหตุ บันทึกการเดินทาง ปูมโหร พงศาวดาร ตำนาน เป็นต้น และ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ ปราสาทหิน เมืองโบราณ วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เงินเหรียญ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ตีความเพื่อให้ทราบเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น



1.2 หลักเกณฑ์การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักวิชาการมีหลักในการแบ่งยุค ดังนี้

แบบที่หนึ่ง ให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยถือว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุค ประกอบด้วย
1. ยุคหิน ซึ่งจำแนกออกเป็นยุคหินเก่า หินกลาง หินใหม่ มีอายุประมาณ 500,000 - 4,000 ปีล่วงมาแล้ว
2. ยุคสำริด มีอายุประมาณ 4,000 - 2500 ปีล่วงมาแล้ว
3. ยุคเหล็ก มีอายุระหว่าง 2,500 - 1,500 ปีล่วงมาแล้ว

แบบที่สอง ให้ความสำคัญเรื่องแบบแผนการดำรงชีวิตของผู้คน แบ่งออกได้ 3 ยุค ดังนี้
1. ยุคชุมชนล่าสัตว์ หรือเรียกว่า ยุคชุมชนหาของป่า ยุคนี้จะครอบคลุมช่วงเวลา ประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว
2. ยุคหมู่บ้านเกษตรกรรม เป็นช่วงที่มนุษย์รู้จักการดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ สังคมยุคนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปี - 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
3. ยุคสังคมเมือง เป็นช่วงที่ชุมชนพัฒนาเป็นสังคมเมือง มีลักษณะเป็นเมืองเล็กๆ สังคมแบบนี้จะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีล่วงมาแล้ว



ประเภทของยุค
แบ่งตามเทคโนโลยีเครื่องมือที่ใช้ ช่วงระยะเวลาโดยประมาณ แบ่งตามแบบแผนการดำรงชีวิต

หินเก่า
500,000 - 10,000 ปีมาแล้ว



ยุคหิน กลาง
10,000 - 6,000 ปีมาแล้ว
ชุมชนล่าสัตว์



หินใหม่
6,000 - 4,000 ปีมาแล้ว



ยุคโลหะ
สำริด
4,000 - 2,500 ปีมาแล้ว
หมู่บ้านเกษตรกรรม



เหล็ก
2,500 - 1,500 ปีมาแล้ว
สังคมเมือง



การนับศักราช

ศักราช หมายถึง ปีที่กำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมากสำหรับจดจารึกไว้ ศักราชที่มีกำหนดไว้มี คือพุทธศักราช (พ.ศ.) รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) คริสต์ศักราช (ค.ศ.) และมหาศักราช (ม.ศ.) ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกัน
การที่จะเทียบศักราชได้จึงต้องนำเอาระยะต่างที่เริ่มนับมาบวกเข้าหรือลบออกดังนี้ ระยะเวลาที่ต่าง
พุทธศักราช มากกว่า คริสต์ศักราช 543 ปี
พุทธศักราช มากกว่า มหาศักราช 621 ปี
พุทธศักราช มากกว่า จุลศักราช 1,181 ปี
พุทธศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 2,324 ปี
คริสต์ศักราช มากกว่า มหาศักราช 78 ปี
คริสต์ศักราช มากกว่า จุลศักราช 638 ปี
คริสต์ศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,781 ปี
มหาศักราช มากกว่า จุลศักราช 560 ปี
มหาศักราชมากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,705 ปี
จุลศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,143 ปี

พุทธศักราช (พ.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งเดิมนับเอาวันเพ็ญ เดือน 6 เป็นวันเปลี่ยนศักราช ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมารัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เสียใหม่ โดยเริ่มนับตามสากลคือ วันที่ 1 มกราคม นับแต่ปี พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา
คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูเกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี การคำนวณเดือนของ ค.ศ. จะเป็นแบบสุรยคติ ดังนั้นวันขึ้นปีใหม่ของ ค.ศ. จะเริ่มในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี
มหาศักราช (ม.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีกษัตริย์ศักราชวงศ์พระองค์หนึ่งในประเทศอินเดียทรงมีชัยชนะเป็นมหาศักราชที่ 1 วิธีการนับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่จะเริ่มเมื่อ 1 เมษายนของทุกปี
จุลศักราช (จ.ศ.) เริ่มนับเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 1,181 ปี โดยนับเอาวันที่พระเถระพม่ารูปหนึ่งนามว่า "บุพโสระหัน " สึกออกจาก การเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัล-ลังก์ การนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ โดยจะมีวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่
รัตนโกสินทร์ ศก (ร.ศ.) ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 2,325 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้บัญญัติขึ้น โดยเริ่มนับเอาวันที่รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร เป็น ร.ศ. 1 และวันเริ่มต้นปี คือวันที่ 1 เมษายน จนต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เลิกใช้ ร.ศ.)

วิธีการเทียบศักราช เช่น การคิดเทียบหา พ.ศ.
พ.ศ. = ค.ศ. + 543 หรือ ค.ศ. = พ.ศ. - 543
พ.ศ. = ม.ศ. + 621 หรือ ม.ศ. = พ.ศ. - 621
พ.ศ. = จ.ศ. + 1,181 หรือ จ.ศ. = พ.ศ. - 1,181
พ.ศ. = ร.ศ. + 2,324 หรือ ร.ศ. = พ.ศ. - 2,324

แบบฝึกหัด